คำถามที่พบบ่อย

นายธีระชุณ บุญสิทธิ์

นายโอภาส ถาวร, นายเวสารัช โสภณดิเรกรัตน์

พันธกิจ 1. จัดทำนโยบาย และแผน ส่งเสริมความร่วมมือ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบ ระดับประเทศและระหว่างประเทศ 2. ส่งเสริม สนับสนุน และเพิ่มศักยภาพกระบวนการขับเคลื่อนองค์กร และเครือข่ายลุ่มน้ำ 3. อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ และรักษาสมดุลระบบนิเวศของ แหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ 4. พัฒนาองค์ความรู้ ระบบข้อมูล กำหนดมาตรฐานด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบเตือนภัยแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ของทุกภาคส่วน ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาระบบน้ำอุปโภคบริโภค

กรมทรัพยากรน้ำเป็นหน่วยงานภาครัฐสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจการเสนอแนะในการจัดทำนโยบายและแผนและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ บริหารจัดการพัฒนาอนุรักษ์ฟื้นฟูรวมทั้งควบคุมดูแลกำกับประสานติดตามประเมินผลและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำพัฒนาวิชาการกำหนดมาตรฐานและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทรัพยากรน้ำทั้งระดับภาพรวมและระดับลุ่มน้ำเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำที่เป็นเอกภาพและยั่งยืนโดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้ (1) เป็นหน่วยงานหลักในการเสนอแนะนโยบาย แผนแม่บท และมาตรการในการบริหารจัดการ พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู การใช้ประโยชน์และการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ รวมทั้งกำกับและประสานให้เกิดการนำไปสู่การปฏิบัติ (2) กำหนดแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการในการบริหารจัดการ พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (3) ศึกษา วิจัย พัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ (4) ติดตามประเมินผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามนโยบาย แผนแม่บท แผนปฏิบัติการและมาตรการที่ได้กำหนดไว้ทั้งในระดับประเทศและระดับลุ่มน้ำ (5) พัฒนาระบบฐานข้อมูล และเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ (6) กำหนดหรือเสนอแนะให้มีการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ ระเบียบ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (7) ส่งเสริม เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ รวมทั้งรณรงค์ทำความเข้าใจกับองค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรน้ำ (8) ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ (9) ส่งเสริม สนับสนุน และให้คำปรึกษาด้านเทคนิควิชาการ มาตรฐานและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแก่หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (10) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ประกอบกับหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งที่ 46/2560 สั่ง ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2560 และคำสั่ง ที่ 2/2561 สั่ง ณ วันที่ 22 มกราคม 2561 จัดตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานหลักด้านนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ โดยตัดโอนภารกิจและอัตรากำลังของกรมทรัพยากรน้ำในด้านงานเสนอแนะนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำในภาพรวมของประเทศงานจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับข้ามลุ่มน้ำ การประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมทั้งการติดตามประเมินผล และการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมถึงพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 กำหนดให้กรมทรัพยากรน้ำมีหน้าที่ภายใต้หมวด 1 ทรัพยากรน้ำ หมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ หมวด 5 ภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วม หมวด 6 การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะและหมวด 8 ความรับผิดทางแพ่งในกรณีที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรน้ำสาธารณะ

180/3 ซอย 34 ถนนพระรามที่ 6 พญาไท พญาไท กรุงเทพมหานคร

ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 122 ก หน้า 44-83 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2561 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.dwr.go.th เมนูหลัก ข้อมูลน่ารู้ และเมนูย่อย กฎหมาย)

ตาม พรบ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 (ม.4)-1 ให้ความหมายคำว่า "น้ำ" หมายถึง น้ำในบรรยากาศ น้ำบนผิวดิน น้ำใต้ดิน และน้ำทะเล

"ทรัพยากรน้ำ" หมายความว่า น้ำ ทรัพยากรน้ำสาธารณะ แหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งกักเก็บน้ำ คลองส่งน้ำ พื้นที่ทางน้ำหลาก ไม่ว่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้น และสิ่งอื่นที่ใช้เพื่อการบริหารจัดการน้ำ และให้ หมายความรวมถึงน้ำจากแหล่งน้ำระหว่างประเทศและแหล่งน้ำต่างประเเทศที่ประเทศไทยอาจนำมาใช้ประโยชน์ได้

3 ประเภท รายละเอียด พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 มาตรา 41

การใช้ทรัพยากรน้ำประเภทที่ 1 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ การอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรือน การรักษาระบบนิเวศ จารีตประเพณี การบรรเทาสาธารณภัย การคมนาคม และการใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อย

นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของ กนช. ให้ดำเนินการเท่าที่จำเป็นในการบรรเทาภาวะน้ำแล้ง

ส่วนวิจัยและพัฒนาอุทกวิทยา กองวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ

มี ตามระเบียบกรมทรัพยากรน้ำ ว่าด้วยการขอรับข้อมูลอุทก-อุตุนิยมวิทยา พ.ศ.2560 (ข้อ 7)

ติดต่อสอบถาม 022716000 ต่อ6805 สำนักงานเลขานุการกรม ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล

ขั้นตอนการขอรับการสนับสนุนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ประกอบด้วย 1. กรอกรายละเอียดผ่านหน้าเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรน้ำ โดยกรอก ชื่อสกุล เลขที่บัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ อีเมลล์ เลือกจังหวัดที่ต้องการขอโครงการ และกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับคำขอสั้นๆ 2. เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบได้รับทราบจะติดต่อท่านเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม 3. ท่านสามารถติดตามความก้าวหน้าได้จากหน้าเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรน้ำ โดยกรอกลขบัตรประชาชน

ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะยื่นขอดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานประกอบกิจการประปา ทั้ง 8 กิจกรรม สามารถดำเนินการได้โดยยื่นหนังสือแสดงความประสงค์ตามกรณีต่าง ๆ กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง พร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ประกอบ โดย 1) ผู้ประกอบการใน เขตกรุงเทพมหานคร ยื่นที่กรมทรัพยากรน้ำตั้งอยู่ที่ 180/3 ถนนพระรามที่ 6 ซอย 34 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 2) ผู้ประกอบการในเขตต่างจังหวัด ยื่นที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนั้น ๆ

1) ระบบประปาขนาดเล็ก ให้ยื่นเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ 1. แบบคำาขอเพื่อด้าเนินการเกี่ยวกับสัมปทานประกอบกิจการประปา (แบบ สป.1) ให้ยื่นต้นฉบับจำนวน 1 ชุด และสำเนาจำนวน 2 ชุด 2. ในกรณีเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจ้ากัด ให้จัดส่งสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทซึ่งออกให้ไม่เกิน 6 เดือน นับถึงวันที่ยื่นเรื่องขอดำเนินการ และจะต้องมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประปา จำนวน 3 ชุด 3. ในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ต้นฉบับจ้านวน 1 ชุด และสำเนา จำนวน 2 ชุดสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ จ้านวน 3 ชุด 4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอดำเนินการ จำนวน 3 ชุด 5. ข้อมูลเบื้องต้นประกอบการขอดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานประกอบกิจการประปา (แบบ สป.2) ให้ยื่นต้นฉบับจำนวน 1 ชุด และสำเนาจำนวน 2 ชุด 6. แผนผังประกอบกิจการประปาและแนวเขตสัมปทาน จำนวน 7 ชุด 7. แผนที่สังเขป จำนวน 7 ชุด 8. ผังบริเวณการประปา จำนวน 3 ชุด 9. ผังแนวท่อจ่ายน้ำประปา จำนวน 7 ชุด 10. แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนอาคารผลิตน้ำประปา จำนวน 3 ชุด 11. รายละเอียดกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการผลิต และวิธีการกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำดิบให้ได้มาตรฐานน้ำประปาตามเกณฑ์ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด จำนวน 3 ชุด 12. รายละเอียดการคำนวณออกแบบระบบประปา ประกอบด้วยรายการคำนวณความต้องการใช้น้ำ ระบบสูบน้ำ ระบบผลิตน้ำ ระบบฆ่าเชื้อโรคและระบบท่อจ่ายน้ำ พร้อม หนังสือรับรอง และสำเนาใบประกอบวิชาชีพของวิศวกรผู้ทำรายการคำนวณ จำนวน 3 ชุด 13. ผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำของแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปา ให้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐานน้้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด (ปัจจุบันใช้เกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกรมอนามัย เรื่องเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาดื่มได้)และจะต้องตรวจวิเคราะห์โดยหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ โดยผู้ขอรับสัมปทานเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ทั้งหมด จำนวน 3 ชุด 14. เอกสารหลักฐานแสดงการยินยอมให้ใช้ที่ดิน เพื่อทำการก่อสร้างระบบประปา (กรณีที่ดินนั้นเป็นของบุคคลอื่น) จำนวน 3 ชุด 15. สำเนาโฉนดที่ดินหรือหนังสืออนุญาตจากผู้มีอำนาจในพื้นที่ที่ขอดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทาน จำนวน 3 ชุด 16. รายงานการวิเคราะห์อัตราค่าน้ำประปา รายงานการวิเคราะห์ค่ารักษามาตรวัดน้ำ จำนวน 3 ชุด 17. หนังสือแจ้งแผนการขยายเขตจำหน่ายน้ำประปาของการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาคหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 ชุด 18. เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ เช่น สำเนาใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล (กรณีใช้น้ำบาดาล) จำนวน 3 ชุด สำเนาใบอนุญาตใช้น้ำผิวดิน (กรณีใช้น้ำผิวดินและแหล่งน้ำนั้นเป็นของบุคคลอื่น) จำนวน 3 ชุด แบบรูปตัดขวางของลำน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ แบบแปลนแสดง พื้นที่ของอ่างเก็บน้ำ หรือสระเก็บน้ำ ระดับน้ำปกติ ระดับน้ำสูงสุด ระดับน้้าต่ำสุด และรายการคำนวณปริมาณน้ำดิบของวิศวกร เพื่อยืนยันความเพียงพอของแหล่งน้ำดิบ (กรณีใช้น้ำผิวดินเป็นแหล่งน้ำดิบ) จำนวน 3 ชุด สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน จำนวน 3 ชุด

การขอรับสัมปทาน 2 - 2,000 บาท, การขอขยายเขตสัมปทาน - 1,000 บาท, การขอต่ออายุสัมปทาน - 2,000 บาท, การขอโอนสัมปทาน - 1,000 บาท, การขอปรับอัตราค่าน้ำ/ค่ารักษามาตรวัดน้ำ – ไม่เสียค่าธรรมเนียม, การขอยกเลิกสัมปทาน – ไม่เสียค่าธรรมเนียม, การขอจำาหน่ายน้ำ - ไม่เสียค่าธรรมเนียม, ค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานผู้ตรวจการ - เสียเป็นอัตราตายตัว ในอัตรา 5 บาท ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตรของปริมาณน้ำที่ทำได้เต็มกำลังใน 1 ชั่วโมง แต่เงินจำนวนนี้จะต้องชำระไม่น้อยกว่า 50 บาท ต่อหนึ่งปี

สามารถเข้าดูได้ที่เว็บไซต์กรมทรัพยากรน้ำ หรือ เว็บไซต์กองวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เลือกแถบเมนูสถานการณ์น้ำ

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2537 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จประพาสทางชลมารค เพื่อตรวจสภาพคลองแสนแสบและเยี่ยมเยียนประชาชนสองฝั่งคลองจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นระยะทางกว่า 72 กิโลเมตร ซึ่งยังความปลื้มปิติแก่พสกนิกร อย่างถ้วนหน้า เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 กำหนดให้วันที่ 20 กันยายนของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลองแห่งชาติ เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของแม่น้ำ คู คลอง

สามารถเข้าดูสื่อวีดิทัศน์ได้ที่เว็บไซต์ https://division.dwr.go.th/wrcrd/index.php/2022-05-24-02-07-30/2022-05-24-02-41-01

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากแหล่งน้ำขนาดเล็กที่รวมตัวกันเพื่อประกอบกิจกรรมของกลุ่ม ซึ่งมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน และได้รับการยอมรับหรือรับรู้จากหน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1) เพื่อดำเนินการจัดสรรแบ่งปันน้ำระหว่างสมาชิกในกลุ่มได้อย่างเป็นธรรม 2) เพื่อดูแล บำรุงรักษาแหล่งน้ำ ให้อยู่ในสภาพดีและมีประสิทธิภาพ 3) เพื่อเป็นตัวแทน ในการติดต่อและประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ 4) เพื่อให้สมาชิกเกิดความรักและความหวงแหนแหล่งน้ำ รวมทั้งกิจกรรมที่สร้างขึ้น 5) เพื่อให้สมาชิกใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด 6) เพื่อให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิก เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ในด้านวิชาการ และกิจกรรมอื่นๆ ทั้งในและนอกสถานที่

1) จัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ รับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาโครงการ 2) คัดเลือกคณะกรรมการบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำ โดยเปิดรับสมัครสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ แล้วคัดเลือกประธานและคณะกรรมการบริหารกลุ่มฯ 3) กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกลุ่มฯ ได้แก่ วางกฎระเบียบและข้อปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการใช้น้ำ การดูแลและบำรุงรักษา การรายงานปัญหาและอุปสรรค การจัดประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มฯ อย่างสม่ำเสมอ การประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและสมาชิก รวมทั้งการไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทในพื้นที่แหล่งน้ำ 4) กำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ คือ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ช่วยกันดูแลและบำรุงรักษาแหล่งน้ำ ให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะต่างๆ แก่คณะกรรมการบริหารกลุ่มฯ

1) ฝึกอบรม โดยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การส่งเสริม สนับสนุน ในด้านการฝึกอบรมและศึกษาดูงานแก่กลุ่มผู้ใช้น้ำ 2) การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง 2.1) ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มผู้ใช้น้ำแต่ละพื้นที่ เช่น การทำประมง การเกษตร และอุตสาหกรรมในครัวเรือน เพื่อหาแนวทางส่งเสริมให้กลุ่มผู้ใช้น้ำมีรายได้จากผลผลิต 2.2) กำหนดกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น การกำจัดวัชพืช ปรับปรุงภูมิทัศน์ การปลูกต้นไม้ การทำความสะอาดบริเวณแหล่งน้ำ เป็นต้น 2.3) กำหนดกิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคีในวันสำคัญหรือประเพณีที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ เช่น วันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลอง แห่งชาติ, วันสงกรานต์, วันลอยกระทง เป็นต้น

น้ำในบรรยากาศ น้ำบนผิวดิน น้ำใต้ดิน และน้ำทะเล

น้ำ ทรัพยากรน้ำสาธารณะ แหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งกักเก็บน้ำ คลองส่งน้ำ พื้นที่ทางน้ำหลาก ไม่ว่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น และสิ่งอื่นที่ใช้เพื่อการบริหารจัดการน้ำ และให้หมายรวมถึงน้ำจากแหล่งน้ำระหว่างประเทศและแหล่งน้ำต่างประเทศที่ประเทศไทยอาจนำมาใช้ประโยชน์ได้

น้ำในแหล่งน้ำที่ประชาชนใช้หรือสงวนไว้ให้ประชาชนใช้ร่วมกัน หรือโดยสภาพประชาชนอาจใช้ประโยชน์ร่วมกัน และให้หมายความรวมถึง แม่น้ำ ลำคลอง ทางน้ำ บึง แหล่งน้ำใต้ดิน ทะเลสาบ น่านน้ำภายใน ทะเลอาณาเขต พื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งน้ำตามธรรมชาติอื่น ๆ แหล่งน้ำที่รัฐจัดสร้างหรือพัฒนาขึ้นเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน แหล่งน้ำระหว่างประเทศที่อยู่ภายในเขตประเทศไทยซึ่งประชาชนนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทางน้ำชลประทานตามกฎหมายว่าด้วยการชลประทาน และน้ำบาดาลตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล

สภาวะที่ปริมาณน้ำ ปริมาณการไหลของน้ำหรือระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคน สัตว์ และพืชที่อยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง

สภาวะที่ปริมาณน้ำ ปริมาณการไหลของน้ำหรือระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือไหลหลาก หรือฉับพลันจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคน สัตว์ และพืชที่อยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่ไม่รวมถึงภาวะน้ำขึ้นและน้ำลงซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติตามธรรมชาติ

พื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม ที่ชื้นแฉะ พรุ แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขัง หรือ น้ำท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงชายฝั่งทะเล และที่ในทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุด มีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร

โครงการที่สงวนรักษาและฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ ไว้ให้คงอยู่หรือกลับสู่สภาพธรรมชาติเดิม ภายใต้ มิติด้านระบบนิเวศ ด้านกายภาพ ด้านการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และด้านเศรษฐกิจสังคม

โครงการที่มุ่งเน้น การปรับปรุง พัฒนา เพื่อให้พื้นที่ชุ่มน้ำ ดีกว่าสภาพปัจจุบัน ภายใต้ มิติด้านระบบนิเวศ ด้านกายภาพ ด้านการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และด้านเศรษฐกิจสังคม

ดัชนีสุขภาพแม่น้ำ (River Health Index - RHI) หมายถึง วิธีการที่พัฒนามาจากกรอบความคิดของธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ที่มีแนวคิดในการตรวจสอบว่าการพัฒนาและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในด้านต่างๆ มีความมั่นคงและยั่งยืนมากน้อยเพียงใด เรียกแนวคิดดังกล่าวว่า ความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) ซึ่งหมายถึงความสามารถในการหาน้ำทั้งในปริมาณและคุณภาพ ที่ต้องการ เพื่อการผลิต การดำรงชีวิต และเพื่อสุขภาพอนามัย โดยมีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากน้ำในระดับที่ยอมรับได้ ในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดของภาครัฐที่กำหนดกรอบและวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการประเมินดัชนีสุขภาพของแม่น้ำ จึงใช้กรอบความคิด แนวทาง และวิธีการประเมิน “Manual on Framework for River Health Assessment in Thailand” (May 2018) ซึ่งเป็นรายงานที่นำเสนอโดยนักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology: AIT) ภายใต้การสนับสนุนของการควบคุมมลพิษ Thai Water Partnership (TWP), CGIAR’S Program on Water, Land and Ecosystem (Greater Mekong) และ Australia Aid ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ตัวแม่น้ำเอง และระบบนิเวศโดยรวมของแม่น้ำนั้น ซึ่งแม้ว่าวัตถุประสงค์ในการประเมินดัชนีสุขภาพของแม่น้ำสายต่างๆจะเหมือนกัน แต่รายละเอียดคุณลักษณะและระบบนิเวศของแม่น้ำแต่ละสายจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นตัวแปรต่างๆ ที่นำมาใช้ประเมินก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละแม่น้ำด้วย

คุณค่าโดยรวมของพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นแหล่งน้ำ กักเก็บน้ำฝนและน้ำท่า ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน ป้องกันชายฝั่งพังทลาย ดักจับสารพิษ ดักจับตะกอนและแร่ธาตุ เป็นแหล่งทรัพยากรและผลผลิตธรรมชาติ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชและสัตว์ มีความสำคัญทางนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์ธรรมชาติ

ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2514 นานาชาติได้ร่วมยกร่างและลงนามในการรับรอง “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศโดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่ของนกน้ำ” ขึ้น ณ เมือง Ramser ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาเป็นรู้จักในนาม อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 เป็นประเทศลำดับที่ 110

อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับระหว่างประเทศ เรียกกันทั่วไปว่าอนุสัญญาแรมซาร์ (The Ramsar Convention) เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่ส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด เป็นสนธิสัญญาสากลฉบับเดียว เพื่อมุ่งเน้นไปที่ระบบนิเวศเดียว (ข้อมูลจาก www.ramsar.org) อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์ (Ramsar Convention) ตั้งชื่อตามสถานที่ที่จัดให้มuการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) คือเมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อนุสัญญานี้เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และยับยั้งการสูญเสียของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลกซึ่งจะต้องมีการจัดการเพื่อใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ตามเงื่อนไขว่าอนุสัญญาฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นภาคี 7 ประเทศ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำในลำดับที่ 110 เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์ ซึ่งพันธกรณีที่สำคัญประการหนึ่งคือ การเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีคุณสมบัติทางนิเวศวิทยาเหมาะสมและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของอนุสัญญาฯ ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์ (List of Wetlands of International Importance)

ประเทศสมาชิกต่างๆ ให้คำมั่นสัญญาที่จะ: – ใช้พื้นที่ชุ่มน้ำทั้งหมดอย่างชาญฉลาด – กำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญให้อยู่ในบัญชี “พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ” (Ramsar Site) – ความร่วมมือพื้นที่ชุ่มน้ำข้ามพรมแดนและความร่วมมืออื่นๆ

ส่วนอนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำ กองอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ 02271 6000 ต่อ 6735

สำนักเลขาธิการอนุสัญญาแรมซาร์ได้กำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ และวันนี้ยังเป็นวันครบรอบของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งได้มีผลบังคับใช้เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศในปี 1971 ซึ่งนานาชาติได้ร่วมยกร่างและลงนามในการรับรอง “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศโดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่ของนกน้ำ” ขึ้น ณ เมือง Ramsar ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาเป็นรู้จักในนาม อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) และประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 เป็นประเทศลำดับที่ 110

เส้นทางบินอพยพของนกเป็นเส้นทางที่กำหนดซึ่งเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ผสมพันธุ์กับพื้นที่หลบหนาว เพื่อนำทางในขณะที่พวกมันเดินทางข้ามภูมิประเทศอันกว้างใหญ่ เส้นทางเหล่านี้ทำให้เป็นรูปร่างโดยการผสมผสานระหว่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น แนวชายฝั่ง ภูเขา และแหล่งน้ำเปิด

โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศระดับภูมิภาคในทวีปเอเชีย ภายใต้กรอบอนุสัญญา Ramsar โดยเส้นทางการบินเอเชียตะวันออก - ออสเตรเลีย เป็นหนึ่งในเก้าเส้นทางนกน้ำอพยพหลักที่สำคัญของโลก ทอดยาวจากรัสเซียตะวันออก (สหพันธรัฐรัสเซีย) และ อลาสก้า (สหรัฐอเมริกา) ไปทางใต้ ผ่านเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงเครือรัฐออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ครอบคลุม 22 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. พัฒนาเครือข่ายเส้นทางนกน้ำอพยพ ของพื้นที่ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ เพื่ออนุรักษ์นกน้ำอพยพโดยอาศัยบทเรียนของความสำเร็จจากยุทธศาสตร์การอนุรักษ์นกน้ำอพยพภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก 2. สนับสนุนการสื่อสาร การศึกษา และการสร้างจิตสำนึกของสาธารณชนให้เห็นถึงคุณค่าความสำคัญของนกน้ำอพยพและถิ่นที่อยู่อาศัย 3. สนับสนุนการศึกษาวิจัยและการติดตามในเส้นทางอพยพรวมทั้งเสริมสร้างความรู้และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของนกน้ำอพยพและถิ่นที่อยู่อาศัย 4. เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านการบริหารจัดการนกน้ำอพยพและถิ่นที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ผู้มีอำนาจตัดสินใจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับท้องถิ่น 5. พัฒนาเส้นทางอพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดพันธุ์และถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญเพื่อนำไปสู่ การยกระดับสถานภาพการอนุรักษ์นกน้ำอพยพ ซึ่งประเทศไทยได้รับเชิญจากประธานคณะกรรมการอนุรักษ์นกอพยพในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก (Asia -Pacific Migratory Waterbirds Conservation Committee :MWCC) ให้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ MWCC ในปี พ.ศ. 2544


คำถามที่ติดต่อสอบถามเข้ามา

สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ ส่วนพัสดุ เบอร์โทรศัพท์ 0 2271 6848 ขอบคุณค่ะ

เปิดรับนิสิตฝึกงานหรือป่าวครับ จาก(มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) 1.ถามว่าเปิดรับนิสิตฝึกงานหรือป่าวครับ หากรับให้นิสิตดำเนินการอย่างไร ตอบ เปิดรับค่ะ 2.การดำเนินการเอกสารให้เรียนถึงใครและมีที่อยู่จัดส่งเอกสารไหมครับ ตอบ ทำหนังสือเรียนอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ค่ะ 3.ให้นิสิตฝึกอะไรบ้างทำอะไรบ้างครับ ตอบ ต้องส่งหนังสือมาก่อนค่ะ ทางส่วนบุคคลจะพิจารณาจากคณะ และสาขาวิชาที่เรียนค่ะ 4.ในการรับนิสิตฝึกงานมีค่าใช้จ่ายไหม ตอบ ไม่มีค่าใช่จ่ายค่ะ 5.ช่วงเวลาที่รับเอกสาร ตอบ เปิดรับตามเวลาราชการค่ะ ถ้ามีข้อสงสัยสอบถาม เพิ่มเติม ที่ส่วนบุคคล 02 2716000 ต่อ 6404

สอบถามเจ้าหน้าที่ได้ที่หมายลข 081 8712856 (คุณสุขสันต์) ค่ะ

รายละเอียด หลักเกณฑ์ และ คุณสมบัติ ของผู้รับจ้าง สามารถดูรายละเอียดได้ทาง เว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th

สวัสดีครับ อยากรบกวนสอบถามเกี่ยวกับการสอบรับสมัครเป็นข้าราชการของกรมทรัพยากรน้ำครับผม พอดีว่า กระผมเห็นทางกรมทรัพยากรน้ำ เปิดรับสมัคสอบเข้าเป็นราชการภายในหน่วยงาน เลยมีความต้อการที่จะสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการครับ แต่ทีนี้ ผมเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีืที่ 4 เทอมที่ 2 และจะจบการศึกษาในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ครับ แต่คุณสมบัติในการสมัครกำหนดไว้ว่า ต้องจบการศึกษาก่อนวันปิดรับสมัครในวันที่ 6 มีนาคม 2562 ที่จะถึงนี้ จึงอยากจะสอบถามว่า ผมมีคุณสมบัติที่ที่ผ่านเกณฑ์ สามารถสอบแข่งขันในตำแหน่งดังกล่าวได้หรือไม่ครับ ถ้าสามารถสอบได้ก็จะยินดีมากๆ เพราะมีความสนใจที่จะสอบแข่งขันเข้าทำงานในตำแหน่งดังกล่าวและทำงานที่หน่วยงานนี้จริงๆครับ ขอบพระคุณครับ

ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่สมัครได้ค่ะ หากมีข้อสงสัยโฏปรดติดต่อ 022716805 ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล

1. ภาครัฐ โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการโครงการประหยัดน้ำ ติดต่อ อาคารจุฑามาศ เลขที่ 89/168-170 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร : 0 2554 1800 Fax : 0 2521 9140 Email : onwr@onwr.go.th 2. กรมทรัพยากน้ำ ไม่ได้ดำเนินการโครงการประหยัดน้ำแล้ว แต่ช่วยสนับสนุน เอกสารคู่มือการจัดทำโครงการส่งเสริมและติดตามการประหยัดดน้ำ ของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ โปสเตอร์ สติกเกอร์ และกระดุมประหยัดน้ำ เพื่อช่วยประหยัดน้ำ ขอรับได้ที่ส่วนวางแผนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ สำนักบริหารจัดการน้ำ ชั้น7 อาคารกรมทรัพยากรน้ำ 02 271 6000

สวัสดีค่ะ ชื่อทัศค่ะได้อ่านข่าวจากโทรทัศน์สุพรีมมาสเตอร์ www.suprememastertv.com เรื่องเทคโนโลยีที่บำบัดน้ำที่ปนเปื้อนโดยไม่ใช้สารเคมีค่ะ ในข่าวแท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิดและน้ำมันดิบไหลลงสู่อ่าว แต่ได้ใช้ไฟฟ้าเพื่อแตกน้ำมันเป็นส่วนผสมของเหลวน้ำ น้ำมันที่จมบนพื้นทะเลถูกซึมไปยังผิวในการจำลองของคุณเฮิร์บ เจ้าของบริษัทที่คิดเทคโนโลยีนี้ชาวอเมริกา กระบวนการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้าแยกน้ำมันที่ผสมกับน้ำทะเลและน้ำไหลผ่านตัวกรองคาร์บอนน้ำมันจะถูกส่งกลับไปยังเจ้าของ จึงได้เกิดความคิดว่าถ้าเราแยกน้ำมันกับน้ำทะเลได้ เราก็น่าจะแยกเกลือออกจากน้ำทะเลได้ถ้าแยกเกลือออกไปแล้ว น้ำทะเลจะกลายเป็นน้ำจึดแล้วน่าจะสามารถนำน้ำนี้ส่งไปให้พื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำที่อยู่ในภาคอีสาน ไม่ทราบว่าไอเดียนี้พอจะเป็นไปได้ไหมคะ อยากให้ลองพิจารณาดูค่ะ ขอบคุณค่ะ ทัศ

ขอบคุณสำหรับไอเดียที่เสนอครับ และได้นำไอเดียดังกล่าวไปเสนอให้ส่วนที่เกี่ยวข้องทราบต่อไปครับ

เรียน คุณสุทธารินี ฤทัยวัฒนา กฎหมายทีใช้ในการทำงาน ของกรมทรัพยากรน้ำ หลักๆ แล้วจะกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ดังนี้ 1. พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 2. พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 3. พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 4. พรบ.ความลับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2556 5. พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีปฏิบัติราชการปกครอง พ.ศ. 2542 6. พรบ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 7. พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ กรมทรัพยากรน้ำ ดังนี้ 1. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2545 2. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 3. ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับ ที่ 58 พ.ศ. 2515 4. พรบ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ณัฐพงษ์ ณ พัทลุง นิติกรชำนาญการพิเศษ

เรียนท่าน สิบเอกไพบูลย์ อนันต์แดง จากคำถามที่ท่านได้สอบถามมานั้น ขอเรียนว่า แหล่งน้ำเชื่อมโยง (เชื่อมโยงแหล่งน้ำ) หมายถึง การวางระบบเครือข่ายน้ำ เพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ จากแหล่งน้ำเดิมที่มีอยู่/แหล่งน้ำใหม่ เพื่อให้ทุกแหล่งน้ำมีน้ำในการนำไปใช้ตามกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ หากท่านมีความสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถประสานเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้ทางโทรศํพท์ 0-2271-6000 ต่อ 6626 (คุณกิจจา) ขอแสดงความนับถือ

รบกวนทำเป็นหนังสือขอมา ตาม นี้ ครับ เรียนผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ

การใช้แบบมาตรฐานระบบประปาหมู่บ้าน ในรายการประกอบแบบ รายการที่ผู้รับจ้างต้องถือปฏิบัติ ในกรณีเหล็กเสริมคอนกรีต ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม.ขึ้นไปให้ใชเกรด SD 30 แต่ปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4802 (พ.ศ.2559) และ 4803 (พ.ศ.2559) แก้ไขมาตรฐานผลิตภัณ์อุตสาหกรรมเหล็กเสริมคอนกรีต เป็น SD 40 จึงขอสอบถามว่าเทศบาลที่นำแบบมาตรฐานดังกล่าวไปใช้ จะเปลี่ยนมาใช้เหล็ก SD 40 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4802 (พ.ศ.2559) และ 4803 (พ.ศ.2559) แก้ไขมาตรฐานผลิตภัณ์อุตสาหกรรมเหล็กเสริมคอนกรีต ได้หรือไม่เนื่องจาก หล็กเสริมคอนกรีต SD 30 ไม่มีการผลิตแล้วและไม่สามารถหาในท้องตลาดได้ ถ้าใช้ได้เทศบาลจะต้องขออนุญาตจากผู้ออกแบบหรือไม่(สำนักบริหารจัดการนำ้ กรมทรัพยากรน้ำ)หรือเปลี่ยการใช้ได้เลย ติดต่อทางโทรศัพท์ได้ที่ 0895609561 ผอ.กองช่างเทศบาลตำบลไชยสถาน

การใช้แบบมาตรฐานระบบประปาหมู่บ้านรูปแบบกรมทรัพยากรน้ำ ในรายการประกอบแบบ รายการที่ผู้รับจ้างต้องถือปฏิบัติ กรณีเหล็กเสริมคอนกรีต ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม.ขึ้นไปให้ใช้เหล็กข้ออ้อย ชั้นคุณภาพ SD30 นั้น หากปรากฏข้อเท็จจริงตามที่หน่วยงานชี้แจงว่า เหล็กข้ออ้อย ชั้นคุณภาพ SD30 ในท้องตลาดไม่มีจำหน่าย และตามหลักวิชาการช่างหรือเทคนิคเชิงวิศวกรรมสามารถใช้เหล็กเส้นผิวข้ออ้อย ชั้นคุณภาพ SD40 โดยไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างงานก่อสร้าง แต่เนื่องจากการดำเนินการก่อสร้างต้องเป็นไปตามแบบรูปรายการ หากแบบก่อสร้างที่ใช้กำหนดไว้เฉพาะ เหล็กข้ออ้อย ชั้นคุณภาพ SD30 เท่านั้น ให้ผู้รับจ้างแก้ไขสัญญางานก่อสร้าง โดยปฏิบัติตาม พรบ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

ตอนนี้กรมทรัพยากรน้ำไม่ได้รับผิดชอบในส่วนของลุ่มน้ำหลัก และลุ่มน้ำสาขาแล้วค่ะ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ค่ะ

ในกรณีเร่งด่วน ให้ประสานท้องถิ่น เพื่อขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์กักเก็บน้ำ หรือทำโครงการในภาพรวมของหมู่บ้านเพื่อขอรับการสนับสนุน จากกองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรน้ำ สนับสนุน เอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง ในด้านสภาวะวิกฤตน้ำ การประหยัดน้ำ ฯลฯ

ดินประเภท Qa เป็นดินตะกอนที่พัดพาโดยน้ำ เป็นดินปากแม่น้ำ มีสัดส่วนคละระหว่างดินกรวดและดินเหนียวปนกัน หากมีกรวดปนมากก็จะไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ แต่ถ้าดินเหนียวปนมากก็จะทำให้การรั่วซึมน้อยลง ซึ่งโดยทั่วไปสระเก็บน้ำจะมีการรั่วซึมของน้ำในดิน การระเหย เป็นปกติอยู่แล้ว แต่หากว่าดินในพื้นที่ทำสระเก็บน้ำ มีการรั่วซึมอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คือมีการรั่วซึมน้อยกว่าการเติมน้ำในสระภายในรอบปีน้ำฝน ก็สามารถทำสระเก็บน้ำได้

สำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ ไม่ได้ติดตั้งสถานีสำรวจข้อมูลน้ำฝนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ข้อมูลในพื้นที่ดังกล่าวสามารถหาข้อมูลได้จาก กรมอุตุนิยมวิทยา ครับ

ติดต่อสอบถาม 022716000 ต่อ6805 สำนักงานเลขานุการกรม ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล

ติดต่อสอบถาม 022716000 ต่อ6617 สำนักงานเลขานุการกรม ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล

แม่น้ำ (อังกฤษ: river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น บ่อน้ำ ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังน้ำ สระหรือบ่อ เป็นแหล่งน้ำนิ่งที่ปกติเล็กกว่าทะเลสาบ โดยอาจเกิดตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นก็ได้ สระอาจเกิดตามธรรมชาติในที่ลุ่มน้ำท่วมถึงเป็นส่วนหนึ่งของระบบแม่น้ำ หรืออาจเป็นแอ่งแยกต่างหากก็ได้ สระอาจมีน้ำตื้นและมีพืชและสัตว์ที่เติบโตในน้ำและที่ลุ่มชื้นแฉะ ชนิดของสิ่งมีชีวิตในสระโดยทั่วไปตัดสินจากปัจจัยต่าง ๆ รวมกัน คลอง (อังกฤษ: canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ ห้วย แอ่งที่ขังน้ำซึ่งไหลมาจากภูเขา หนอง แอ่งที่ขังน้ำซึ่งไหลมาจากภูเขา บึง คือ บริเวณที่มีน้ำจำนวนมาก มีขนาดกว้างใหญ่ อาจกินพื้นที่หลายหมู่บ้าน หลายตำบล และมีความหลากหลาย ทางธรรมชาติ เช่น บึงบอระเพ็ด บึงฉวาก เป็นต้น ลำราง ทางน้ำเล็ก ๆ ที่ขุดสำหรับชักน้ำจากคลองเข้านาหรือระบายน้ำออกจากนา.

เรียน ดร.ฮาซัน อีแต สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8 รับทราบปัญหาของทางโรงเรียนแล้วขอเรียนว่า ภารกิจในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงขอให้ท่านประสานกับ สำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 12 สงขลา โดยตรงตามรายละเอียดสถานที่และเบอร์โทรศัพท์ที่แนบมาพร้อมนี้ สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 12 (สงขลา) 439/10 ม.2 ถ.สงขลา-เกาะยอ ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา 90100 โทร : 0-7433-0225 โทรสาร : 0-7433-0225 อีเมล์ : www.bgrr12@dgr.mail.go.th

ปริมาณน้ำฝนในภาคใต้ย้อนหลัง 30 ปี กองวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยามีข้อมูลเป็นรายสถานีซึ่งสามารถให้การบริการข้อมูลตามรายชื่อสถานีที่ปรากฏในเว็บไซต์ http://ishydro.dwr.go.th/

การกำจัดตะกอนในน้ำประปา โดยทั่วไปน้ำดิบที่นำมาผลิตน้ำประปา กรณีเป็นน้ำผิวดิน จะเริ่มจากการสูบน้ำดิบและเติมสารส้มและ/หรือปูนขาว เพื่อกำจัดตะกอนเนื่องจากในน้ำผิวดินจะมีตะกอนอยู่มาก ทำให้ตะกอนจับตัวกันเป็นก้อน จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการตกตะกอน และผ่านกระบวนการกรองด้วยสารกรอง และนำน้ำที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดังกล่าว มากักเก็บไว้พร้อมเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคอีกครั้ง และจ่ายน้ำให้ผู้ใช้น้ำต่อไป และหากน้ำประปาที่ผลิตได้มีคุณภาพไม่ดี ต้องตรวจสอบว่า น้ำผ่านกระบวนการดังกล่าวหรือไม่ พร้อมตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบว่า มีการปนเปื้อนจากสิ่งใด เพื่อจะได้เลือกสารกรองเพื่อกำจัดออกได้ถูกต้อง

ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ. 2564 ไม่อยู่ในเขตลุ่มน้ำใดครับ

เนื่องด้วยหมู่บ้านข้าพเจ้า เป็นหมู่บ้านใหญ่ น้ำประปาที่มีใช้ไม่ทั่วถึง และงบประมาณ อบต ก็มีขีดจำกัด ข้าพเจ้า เห็นในเวปไซด์ ว่ามีโครงการ การสร้างรระบบกระจายน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ข้าพเจ้าเห้นโครงการ น่าจะมาทำประโยชน์ให้กลับหมู่บ้านของข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้าจึงอยากให้หน่วยงานท่าน มาช่วยทำเพื่อ บรรเทาวามเดือดร้อน บางส่วนได้ครับ หมู่บ้านข้านเจ้ามีหนองน้ำใหญ่ น่าจะเอามาใช้ประโยชนืได้ครับ ฝากด้วยนะครับ ข้อความนี่ไม่ได้เป็นข้อความร้องเรียนแต่อย่างใดนะครับ ขีดจำกัดงบประมาณ ของ อบต หรือ หน่วยงานอื่นอาจมีขีดจำกัด ผมเลยเห็นเวีปไซด้ของกรมทรัพยากรน้ำ น่าจะชาวยแก้ปัญหาได้ครับ

เรียน คุณไพบูลย์ หอมทอง ตามที่คุณไพบูลย์ ส่งข้อความผ่านเว็บไซต์กรมทรัพยากรน้ำเพื่อขอรับการสนับสนุนโครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ กรมทรัพยากรน้ำขอเรียนชี้แจงว่ากรมทรัพยากรน้ำยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะดำเนินการโครงการพัฒนาระบบกระจายน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับหมู่บ้านของคุณไพบูลย์ แต่ทางกรมทรัพยากรน้ำต้องการข้อมูลเพิ่มเติมถึงที่ตั้งของหมู่บ้านเพื่อหน่วยงานสำนักงานทรัพยากรน้ำภาคที่ดูแลพื้นที่หมู่บ้านของคุณไพบูลย์จักได้เข้าไปสำรวจถึงความพร้อมในการดำเนินโครงการ จึงขอให้คุณไพบูลย์กรอกข้อมูลการขอโครงการฯ ผ่านเมนู "ขอโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ" ที่หน้าเว็บไซต์กรมทรัพยากรน้ำหรือเข้าโดยตรงได้ที่ https://dwr.go.th/projectrequest.php

จากการตรวจสอบ ไม่พบโครงการแหล่งน้ำของกรมทรัพยากรน้ำที่มีชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ กรมทรัพยากรน้ำมีภารกิจในการดำเนินโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภคบริโภค การผลิต การเกษตร ป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้งอุทกภัย บรรเทาความเดือดร้อนด้านน้ำให้กับประชาชน และรักษาสมดุลระบบนิเวศและพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยสามารถตรวจสอบโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำของกรมทรัพยากรน้ำที่ได้รับงบประมาณในแต่ละปีได้ทางเว็บไซต์ http://division.dwr.go.th/bwrpp1/index.php/2019-10-29-11-09-07 หัวข้อ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำ ส่วนวิเคราะห์โครงการและงบประมาณ โทร. 02 271 6000 ต่อ 6326

การจ่าหน้าการจ่าหน้าซองไปรษณีย์เพื่อขอโอนย้ายมากรมทรัพยากรน้ำสามารถจ่าหน้าซองมาที่ ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล กรมทรัพยากรน้ำ 180/3 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพ 10400 ปล. ลงเว็บหน้าซอง (แบบคำร้องขอโอน)

ลุ่มน้ำคลองหลวงอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ประมาณ 1,930 ตร.กม. มีต้นน้ำจากเขาอ่างกระเด็น ลำน้ำไหลผ่านที่ราบลุ่มจากด้านทิศใต้ไปยังทิศเหนือ ผ่านอำเภอบ่อทองและอำเภอพนัสนิคมลงสู่แม่น้ำบางปะกง มีความยาวตลอดแนวประมาณ 90 กม. มีพื้นที่ ราบบนสองฝั่งคลอง ซึ่งมีการทำนาข้าวที่อาศัยน้ำฝน คลองหลวง ลุ่มน้ําสาขาคลองหลวง (1604) ประกอบด้วยพื้นที่ 5 อําเภอ 1 กิ่งอําเภอ ในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ อําเภอพานทอง อําเภอพนัสนิคม อําเภอบ่อทอง อําเภอหนองใหญ่อําเภอบ้านบึง และกิ่งอําเภอเกาะจันทร์ https://tiwrm.hii.or.th/web/attachments/25basins/16-bangpakong.pdf

น้ำเพื่อการอุตสาหกรรมมิได้มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนใช้สอยเป็นหลัก โรงงานอุตสาหกรรมมิได้นำไปให้ประชาชนใช้สอยเป็นหลัก จึงไม่ต้องขอสัมปทาน ตาม ปว. 58 ครับ

กรมทรัพยากรน้ำ ขอแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแบบมาตรฐานระบบประปาหมู่บ้านของกรมทรัพยากรน้ำ ดังนี้ 1. แบบมาตรฐานระบบประปาหมู่บ้านของกรมทรัพยากรน้ำที่เผยแพร่มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นเอกสารประกอบการดำเนินการจ้างเหมาก่อสร้างระบบประปาและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้าง กรมทรัพยากรน้ำมีหน้าที่สนับสนุนให้คำปรึกษาด้านเทคนิค วิชาการ เพื่อให้การใช้แบบมาตรฐานดังกล่าวเป็นไปตามหลักวิชาการช่างสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ 2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานใด จะนำแบบมาตรฐานดังกล่าวไปใช้ต้องปฏิบัติตามเอกสารเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้แบบมาตรฐานระบบประปาหมู่บ้านของกรมทรัพยากรน้ำ ที่อยู่ในเว็บไซท์ของสำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ อย่างเคร่งครัด 3. งานประมาณราคา จะต้องดำเนินการตามความเป็นจริงเฉพาะแห่ง และปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ สำหรับรายการประมาณราคาที่แนบมาให้เพื่อใช้สำหรับอำนวยความสะดวกและเป็นแนวทางในการประมาณราคาเท่านั้น และเป็นราคาที่ยังไม่รวมค่าประสานและขยายเขตไฟฟ้าภายนอก รวมถึงยังไม่รวมค่าก่อสร้างแหล่งน้ำ บางรายการเป็นปริมาณวัสดุที่สมมติขึ้น เช่น เครื่องสูบน้ำดิบ การจัดหาและวางท่อน้ำดิบพร้อมอุปกรณ์ การจัดหาและวางท่อจ่ายน้ำประปาพร้อมอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งรายการเหล่านี้จะต้องประมาณราคาให้เป็นไปตามรายการรายละเอียดเฉพาะแห่ง หมายเหตุ ได้จัดส่ง ไฟล์ประมาณราคาค่าก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านแบบผิวดินขนาดใหญ่มากให้แก่ อบต. โนนม่วง ทาง เมล์ด้วยแล้ว

กรมทรัพยากรน้ำมีหน่วยงานย่อยที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัดดังนี้ค่ะ 1. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 1 ตั้งอยู่จังหวัดลำปาง 2. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 2 ตั้งอยู่จังหวัดสระบุรี 3. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 3 ตั้งอยู่จังหวัดอุดรธานี 4. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 4 ตั้งอยู่จังหวัดขอนแก่น 5. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 5 ตั้งอยู่จังหวัดนครราชสีมา 6. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 6 ตั้งอยู่จังหวัดปราจีนบุรี 7. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 7 ตั้งอยู่จังหวัดราชบุรี 8. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 8 ตั้งอยู่จังหวัดสงขลา 9. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 9 ตั้งอยู่จังหวัดพิษณุโลก 10. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 10 ตั้งอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 11. สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 11 ตั้งอยู่จังหวัดอุบลราชธานี ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.dwr.go.th เมนูรวมลิงค์-หน่วยงานภายใน

การทำฝาย มีหลายหน่วยงานร่วมกันทำ การทำประปาหมู่บ้าน สามารถติดต่อได้ที่ กองการจัดสรรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ ตลอดเวลาวันเวลาราชการ

shadow

การค้นหาขั้นสูง